การได้คะแนน (TO SCORE A POINT)
1 คะแนน ทีมได้คะแนนเมื่อ 1.1 ทำให้ลูกบอลตกลงบนพื้นสนามในแดนของทีมตรงข้าม 1.2 ทีมตรงข้ามทำผิดกติกา 1.3 ทีมตรงข้ามถูกลงโทษ
2 การทำผิดกติกา ทีมทำผิดกติกาเมื่อลักษณะของการเล่นตรงข้ามกับกติกาการแข่งขัน(หรือขัดแย้งกับกติกาโดยวิธีอื่นใด) ผู้ตัดสินจะตัดสินการการกระทำผิดและตัดสินใจดำเนินการตามกติกา ดังนี้ 2.1 ถ้ามีการเล่นผิดกติกาสองอย่างหรือมากกว่าเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน จะลงโทษเฉพาะการผิดกติกาที่เกิดขึ้นก่อนเท่านั้น
3 ผลที่ตามมาเมื่อชนะการเล่นลูก การเล่นลูกเป็นลักษณะการเล่นที่เริ่มต้นตั้งแต่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ จนกระทั้งลูกตาย
3.2 ถ้าทีมที่เป้นฝ่ายรับลูกเสิร์ฟชนะการเล่นลูกจะได้คะแนนและได้เสิร์ฟในครั้งต่อไป
การชนะในแต่ละเซต (TO WIN A SET)
ทีมที่ทำได้ 25 คะแนนก่อน (ยกเว้นเซตตัดสิน) และมีคะแนนนำทีมตรงข้ามอย่างน้อยที่สุก 2 คะแนน จะเป็นทีมชนะการแข่งขันเซตนั้น ถ้าทำได้ 24 คะแนนเท่ากัน จะแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน
การชนะการแข่งขันแต่ละนัด (TO WIN THE MATCH)
1 ทีมที่ทำได้ 3 เซต เป็นทีมที่ชนะการแข่งขันนัดนั้น
2 ในกรณีที่ได้เซตเท่ากัน 2 : 2 การแข่งขันเซตตัดสิน (เซตที่ 5) จะแข่งขันกัน 15 คะแนน และต้องมีคะแนนนำอีกทีมหนึ่งอย่างน้อย 2 คะแนน
ทีมที่ผิดระเบียบการแข่งขันและไม่พร้อมจะแข่งขัน (DEFAULT AND INCOMPLETE TEAM)
1 ถ้าทีมปฏิเสธที่จะแข่งขัน หลังจากได้รับแจ้งให้แข่งขันต่อ ทีมนั้นจะถูกแจ้งว่าทำผิดระเบียบการแข่งขัน และปรับเป็นแพ้ในการแข่งขันนัดนั้น ด้วยผลการแข่งขัน 0 – 3 เซต คะแนน 0 – 25 ในแต่ละเซต
2 ทีมที่ไม่ปรากฏตัว ณ สนามแข่งขันตามเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือว่าผิดระเบียบการแข่งขันและมีผลการแข่งขันเช่นเดียวกับกติกาข้อ 6.4.1
3 ทีมที่ถูกแจ้งว่าไม่พร้อมในการแข่งขันนัดใดนัดหนึ่งหรือการแข่งขันเซตใดเซตหนึ่ง จะแพ้ในเซตนั้นหรือการแข่งขันนัดนั้น ทีมตรงข้ามจะได้คะแนนและเซตเพื่อเป็นทีมชนะในเซตหรือการแข่งขันนัดนั้น ส่วนทีมที่ไม่พร้อมจะแข่งขันจะยังคงได้คะแนนและเชตที่ทำไว้
3.1 ถ้าทีมที่เป้นฝ่ายเสิร์ฟชนะการเล่นลูกจะได้คะแนนและได้เสิร์ฟต่อ
วอลเลย์บอล
วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
รูปแบบของการแข่งขัน
พื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอล
พื้นฐานองค์ประกอบในการเล่นวอลเลย์บอลที่ผมจะนำเสนอในตอนนี้เป็นองค์ประกอบหลักสำคัญที่เราพบในการแข่งขันเสมอ คือการรุก การรองบอลและการรับ โดยในตอนนี้จะเป็นเรื่องของการรุกและการรองบอล
การรุก การรุกหรือโจมตีในกีฬาวอลเลย์บอลมี 2 วิธีหลักๆ คือ การตบและการหยอด ซึ่งการตบหรือหยอดก็จะมีหลากหลายรูปแบบ การใช้วิธีการตบลักษณะใดขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ประสบการณ์และคู่ต่อสู้
การตบบอลลักษณะต่าง ๆ
1. การตบบอลที่เซตสูง
การตบบอลที่เซตมาสูงหรือที่เรามักเรียกกันว่า บอลโค้ง หรือบอลหัวเสา เป็นวิธีการรุกพื้นฐานที่ควรแนะนำสำหรับทีมในระดับเริ่มต้น แต่อย่างไรก็ตามการตบบอลลักษณะนี้ยังใช้ได้ในทีมทุกระดับ
2. การตบบอลเร็วหัวเสา
บอลลักษณะนี้เรามักเรียกกันว่าบอล Y เป็นบอลที่คล้ายกับบอลโค้งหัวเสาแต่มีความเร็วมากกว่าและเตี้ยกว่าบอลโค้งหัวเสา
3. การตบบอลเร็วแบบต่างๆ
บอลเร็วหน้า (A หน้า) – กระโดดตบหน้าตัวเซตประมาณ 1 เมตร และกระโดดก่อนตัวเซตจะเซตบอล
บอลเร็วหลัง (A หลัง) - กระโดดตบหลังตัวเซตประมาณ 1 เมตร และกระโดดก่อนตัวเซตจะเซตบอล
บอลเร็วหน้าห่างตัวเซต (X หน้า) – กระโดดตบหน้าตัวเซตประมาณ 2-3 เมตร กระโดดพร้อมตัวเซตเซตบอล
บอลเร็วหน้าห่างตัวเซต (X หลัง) – กระโดดตบหลังตัวเซตประมาณ 2-3 เมตร กระโดดพร้อมตัวเซตเซตบอล
เทคนิคการรุก
การโจมตีหรือการรุกด้วยสามารถทำได้ด้วยการตบหรือการหยอด ซึ่งมีเทคนิคหลากหลายเพื่อให้คู่ต่อสู้สกัดกั้นได้ยาก โดยนักกีฬาสามารถฝึกฝนหรือคิดค้นเทคนิคต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองและฝึกซ้อมให้เกิดความชำนาญ จะช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จในการแข่งขัน
การรุกแบบสลับตำแหน่ง
เป็นเทคนิคการรุกที่เส้นทางการรุกของผู้เล่น 2 คนไขว้กัน โดยผู้เล่นคนหนึ่งจะตบบอลเร็ว หรือที่เรียกว่าการรุกแบบผสม Combination attackหรือภาษาวอลเลย์บอลเรียกบอลทับหรือบอลแทรก ลักษณะเส้นทางการรุกของผู้เล่นทั้งสองจะเป็นรูปตัว X
การหยอด
การหยอดจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องหยอดไปยังตำแหน่งที่เป็นจุดอ่อนในเกมรับของคู่ต่อสู้ เพื่อให้คู่ต่อสู้รับยากหรือหากรับได้แต่นำบอลนั้นกลับมารุกโต้กลับได้ยาก ซึ่งแต่ละจุดที่หยอดก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการตั้งรับของคู่ต่อสู้
บอลเร็วหลัง (A หลัง) - กระโดดตบหลังตัวเซตประมาณ 1 เมตร และกระโดดก่อนตัวเซตจะเซตบอล
บอลเร็วหน้าห่างตัวเซต (X หน้า) – กระโดดตบหน้าตัวเซตประมาณ 2-3 เมตร กระโดดพร้อมตัวเซตเซตบอล
บอลเร็วหน้าห่างตัวเซต (X หลัง) – กระโดดตบหลังตัวเซตประมาณ 2-3 เมตร กระโดดพร้อมตัวเซตเซตบอล
เทคนิคการรุก
การโจมตีหรือการรุกด้วยสามารถทำได้ด้วยการตบหรือการหยอด ซึ่งมีเทคนิคหลากหลายเพื่อให้คู่ต่อสู้สกัดกั้นได้ยาก โดยนักกีฬาสามารถฝึกฝนหรือคิดค้นเทคนิคต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองและฝึกซ้อมให้เกิดความชำนาญ จะช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จในการแข่งขัน
การรุกแบบสลับตำแหน่ง
เป็นเทคนิคการรุกที่เส้นทางการรุกของผู้เล่น 2 คนไขว้กัน โดยผู้เล่นคนหนึ่งจะตบบอลเร็ว หรือที่เรียกว่าการรุกแบบผสม Combination attackหรือภาษาวอลเลย์บอลเรียกบอลทับหรือบอลแทรก ลักษณะเส้นทางการรุกของผู้เล่นทั้งสองจะเป็นรูปตัว X
การหยอด
การหยอดจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องหยอดไปยังตำแหน่งที่เป็นจุดอ่อนในเกมรับของคู่ต่อสู้ เพื่อให้คู่ต่อสู้รับยากหรือหากรับได้แต่นำบอลนั้นกลับมารุกโต้กลับได้ยาก ซึ่งแต่ละจุดที่หยอดก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการตั้งรับของคู่ต่อสู้
ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน วอลเลย์บอล
ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน วอลเลย์บอล
กฎกติกาการแข่งขัน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการแข่งขันกีฬาทุกประเภท เพราะเป็นหลักเกณฑ์ข้อบังคับ ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการแข่งขัน ไม่ให้เกิดการเลื่อมล้ำ หรือเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันของแต่ละฝ่ายที่ทำการแข่งขันกันได้
สำหรับนักกีฬาวอลเลย์บอลนั้นมีกติกาหลายข้อและแบ่งตามหมวดหมู่ย่อยออกได้ถึง 27 ข้อด้วยกัน ซึ่งในแต่ละหัวข้อจะมีระบุรายละเอียดปลีกย่อยไปอีกด้วย
รายละเอียดที่จะกล่าวถึงในครั้งนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกติกาทั้งหมดของวอลเลย์บอล โดยจะยกมาในส่วนหัวข้อ”ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน” ส่วนปลีกย่อย”เรื่องของทีม” กติกาที่จะอ้างถึงในครั้งนี้เป็นกติกาที่มีการปรับปรุงล่าสุด เป็นกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล ฉบับปี พ.ศ. 2555–2559 (2013–2016) ที่ผ่านการอนุมัติตามมติที่ประชุมใหญ่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ครั้งที่ 33 ประจำปี 2012 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ตามกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล ระบุไว้ว่า
1. ผู้ที่สามารถเข้าภายในบริเวณพื้นที่ควบคุม และเข้าร่วมในการอบอุ่นร่างกายรวมถึงการแข่งขันได้นั้น จะประกอบไปด้วยผู้เล่นจำนวนสูงสุด 12 คน , ผู้ฝึกสอน 1 คน และผู้ช่วยผู้ฝึกไม่เกิน 2 คน, แพทย์ 1 คน และนักกายภาพบำบัด 1 คน ซึ่งบุคคลที่กล่าวมาทั้งหมดจะต้องถูกระบุชื่อไว้ในใบบันทึกการแข่งขันด้วย
2. หากเป็นการแข่งขันในระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ แพทย์ และนักกายภาพบําบัด จะต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ก่อนการแข่งขัน
3. ต้องระบุชื่อผู้เล่นคนหนึ่งซึ่งไม่ใช่ตัวรับอิสระ เป็นหัวหน้าทีมใบบันทึกการแข่งขัน
4. อนุญาตให้ผู้ที่มีชื่ออยู่ในใบบันทึกการแข่งขันเท่านั้น SBO ที่สามารถลงสนามและร่วมการแข่งขันได้
5. ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผู้เล่นได้อีก หากผู้ฝึกสอนและหัวหน้าทีมได้ทำการลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันเรียบร้อยแล้ว
6. ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขัน ต้องนั่งอยู่บนม้านั่ง หรืออยู่ในพื้นที่อบอุ่นร่างกายของทีมตนเองเท่านั้น ผู้ฝึกสอนและผู้ร่วมทีมคนอื่น ต้องนั่งบนม้านั่ง อาจลุกจากม้านั่งได้เป็นครั้งคราว ซึ่งม้านั่งจะตั้งอยู่ด้านข้างโต๊ะผู้บันทึก นอกเขตรอบสนาม
7. ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งสามารถอบอุ่นร่างกายโดย ไม่ใช้ลูกบอลได้ เฉพาะ ในพื้นที่อบอุ่นร่างกาย, ในระหว่างขอเวลานอก (ในเขตรอบสนามด้านหลังในแดนของทีมตนเอง)
8. ช่วงพักระหว่างเซต ผู้เล่นสามารถอบอุ่นร่างกาย โดยใช้ลูกบอลได้ ในเขตรอบสนามในแดนของทีมตนเอง
9. ผู้เล่นจะต้องสวมชุดแข่งขันที่เป็นเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ถุงเท้าที่เหมือนกันทั้งทีม ยกเว้น ตัวรับอิสระเป็นชุดแข่งขันที่สะอาดได้
10. รองเท้าของผู้เล่นจะต้องมีน้ำหนักเบา อ่อนนุ่ม แบบพื้นยางแต่ตั้งไม่มีส้น
11. เสื้อของผู้เล่นที่สวมใส่จะต้องมีหมายเลขตั้งแต่ 1-20 โดยติดหมายเลขไว้ที่กลางหน้าออก และกลางหลัง สีของตัวเลขต้องตัดกับสีเสื้ออย่างชัดเจน หมายเลขด้านหน้าต้องสูงอย่างน้อย 15 cm ด้านหลังสูงอย่างน้อย 20 cm ความกว้างของแถบหมายเลข อย่างน้อย 2 cm
12. หัวหน้าที่ต้องมีแถบติดใต้หมายเลยตรงหน้าอก ขนาด 8×2 cm
13. การเปลี่ยนชุดแข่งขัน ในกรณีที่ชุดเปียก หรือ ชำรุด ในช่วงพักระหว่างเซตหรือหลังจากการเปลี่ยนตัวสามารถทำได้ โดยสี แบบ และหมายเลขของชุดใหม่ต้องเหมือนกับชุดเดิม และต้องขออนุญาตจากผู้ตัดสินที่ 1 ซึ่งจะมีอำนาจที่จะอนุญาตได้ เท่านั้น
14. การสวมชุดวอร์มลงแข่งขันสามารถทำได้ ถ้าอากาศหนาว โดยสีและแบบของชุดวอร์มต้องเหมือนกันทั้งทีม (ยกเว้นตัวรับอิสระ) และมีหมายเลขตามกติกา
15. ห้ามสวมใส่สิ่งของที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บหรือชอบให้ผู้เล่นได้เปรียบผู้อื่น แต่ผู้เล่นสามารถสวมแว่นตาหรือเลนซ์ได้ โดยต้องรับผิดชอบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วยตัวเอง
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกติกาในการแข่งขันวอลเลย์บอล ซึ่งคัดออกมาเพียงหัวข้อปลีกย่อยในเรื่องของทีมวอลเลย์บอลเท่านั้น จะเห็นได้ว่าเพียงหัวข้อกติกาปลีกย่อยเพียงหัวข้อเดียว แต่ผู้กำหนดกติกาได้ระบุรายละเอียดของกติกาไว้อย่างละเอียดและชัดเจน ซึ่งก็เพื่อประโยชน์ต่อการจัดการแข่งขันกีฬาได้อย่างโปร่งใส่ ทำให้การแข่งขันเกิดความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย ไม่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นพิเศษ หรืออาจเรียกว่าเป็นกำหนดกติกาเพื่อการแข่งขันที่สมบูรณ์โดยแท้จริง
สำหรับนักกีฬาวอลเลย์บอลนั้นมีกติกาหลายข้อและแบ่งตามหมวดหมู่ย่อยออกได้ถึง 27 ข้อด้วยกัน ซึ่งในแต่ละหัวข้อจะมีระบุรายละเอียดปลีกย่อยไปอีกด้วย
รายละเอียดที่จะกล่าวถึงในครั้งนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกติกาทั้งหมดของวอลเลย์บอล โดยจะยกมาในส่วนหัวข้อ”ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน” ส่วนปลีกย่อย”เรื่องของทีม” กติกาที่จะอ้างถึงในครั้งนี้เป็นกติกาที่มีการปรับปรุงล่าสุด เป็นกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล ฉบับปี พ.ศ. 2555–2559 (2013–2016) ที่ผ่านการอนุมัติตามมติที่ประชุมใหญ่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ครั้งที่ 33 ประจำปี 2012 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ตามกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล ระบุไว้ว่า
1. ผู้ที่สามารถเข้าภายในบริเวณพื้นที่ควบคุม และเข้าร่วมในการอบอุ่นร่างกายรวมถึงการแข่งขันได้นั้น จะประกอบไปด้วยผู้เล่นจำนวนสูงสุด 12 คน , ผู้ฝึกสอน 1 คน และผู้ช่วยผู้ฝึกไม่เกิน 2 คน, แพทย์ 1 คน และนักกายภาพบำบัด 1 คน ซึ่งบุคคลที่กล่าวมาทั้งหมดจะต้องถูกระบุชื่อไว้ในใบบันทึกการแข่งขันด้วย
2. หากเป็นการแข่งขันในระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ แพทย์ และนักกายภาพบําบัด จะต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ก่อนการแข่งขัน
3. ต้องระบุชื่อผู้เล่นคนหนึ่งซึ่งไม่ใช่ตัวรับอิสระ เป็นหัวหน้าทีมใบบันทึกการแข่งขัน
4. อนุญาตให้ผู้ที่มีชื่ออยู่ในใบบันทึกการแข่งขันเท่านั้น SBO ที่สามารถลงสนามและร่วมการแข่งขันได้
5. ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผู้เล่นได้อีก หากผู้ฝึกสอนและหัวหน้าทีมได้ทำการลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันเรียบร้อยแล้ว
6. ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขัน ต้องนั่งอยู่บนม้านั่ง หรืออยู่ในพื้นที่อบอุ่นร่างกายของทีมตนเองเท่านั้น ผู้ฝึกสอนและผู้ร่วมทีมคนอื่น ต้องนั่งบนม้านั่ง อาจลุกจากม้านั่งได้เป็นครั้งคราว ซึ่งม้านั่งจะตั้งอยู่ด้านข้างโต๊ะผู้บันทึก นอกเขตรอบสนาม
7. ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งสามารถอบอุ่นร่างกายโดย ไม่ใช้ลูกบอลได้ เฉพาะ ในพื้นที่อบอุ่นร่างกาย, ในระหว่างขอเวลานอก (ในเขตรอบสนามด้านหลังในแดนของทีมตนเอง)
8. ช่วงพักระหว่างเซต ผู้เล่นสามารถอบอุ่นร่างกาย โดยใช้ลูกบอลได้ ในเขตรอบสนามในแดนของทีมตนเอง
9. ผู้เล่นจะต้องสวมชุดแข่งขันที่เป็นเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ถุงเท้าที่เหมือนกันทั้งทีม ยกเว้น ตัวรับอิสระเป็นชุดแข่งขันที่สะอาดได้
10. รองเท้าของผู้เล่นจะต้องมีน้ำหนักเบา อ่อนนุ่ม แบบพื้นยางแต่ตั้งไม่มีส้น
11. เสื้อของผู้เล่นที่สวมใส่จะต้องมีหมายเลขตั้งแต่ 1-20 โดยติดหมายเลขไว้ที่กลางหน้าออก และกลางหลัง สีของตัวเลขต้องตัดกับสีเสื้ออย่างชัดเจน หมายเลขด้านหน้าต้องสูงอย่างน้อย 15 cm ด้านหลังสูงอย่างน้อย 20 cm ความกว้างของแถบหมายเลข อย่างน้อย 2 cm
12. หัวหน้าที่ต้องมีแถบติดใต้หมายเลยตรงหน้าอก ขนาด 8×2 cm
13. การเปลี่ยนชุดแข่งขัน ในกรณีที่ชุดเปียก หรือ ชำรุด ในช่วงพักระหว่างเซตหรือหลังจากการเปลี่ยนตัวสามารถทำได้ โดยสี แบบ และหมายเลขของชุดใหม่ต้องเหมือนกับชุดเดิม และต้องขออนุญาตจากผู้ตัดสินที่ 1 ซึ่งจะมีอำนาจที่จะอนุญาตได้ เท่านั้น
14. การสวมชุดวอร์มลงแข่งขันสามารถทำได้ ถ้าอากาศหนาว โดยสีและแบบของชุดวอร์มต้องเหมือนกันทั้งทีม (ยกเว้นตัวรับอิสระ) และมีหมายเลขตามกติกา
15. ห้ามสวมใส่สิ่งของที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บหรือชอบให้ผู้เล่นได้เปรียบผู้อื่น แต่ผู้เล่นสามารถสวมแว่นตาหรือเลนซ์ได้ โดยต้องรับผิดชอบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วยตัวเอง
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกติกาในการแข่งขันวอลเลย์บอล ซึ่งคัดออกมาเพียงหัวข้อปลีกย่อยในเรื่องของทีมวอลเลย์บอลเท่านั้น จะเห็นได้ว่าเพียงหัวข้อกติกาปลีกย่อยเพียงหัวข้อเดียว แต่ผู้กำหนดกติกาได้ระบุรายละเอียดของกติกาไว้อย่างละเอียดและชัดเจน ซึ่งก็เพื่อประโยชน์ต่อการจัดการแข่งขันกีฬาได้อย่างโปร่งใส่ ทำให้การแข่งขันเกิดความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย ไม่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นพิเศษ หรืออาจเรียกว่าเป็นกำหนดกติกาเพื่อการแข่งขันที่สมบูรณ์โดยแท้จริง
สิ่ิ่งอํานวยความสะดวกและอุปกรณ์
กติกาข้อที่1 พื้นที่เล่นลูก (PLAYING AREA)
1.1 ขนาดสนาม (DIMENSION)
สนามแข่งขันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 18 x 9 เมตรล้อมรอบด้วยเขตรอบสนาม
กว้างอย่างน้อยที่สุด 3 เมตร ทุกด้านที่ว่างสําหรับเล่นลูก คือ ที่ว่างเหนือพื้นที่เล่นลูก ซึ่งไม่มีสิ่งใกีดขวาง สูงขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 7 เมตรจากพื้นสนามสําหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันที่เป็นทางการ เขตรอบสนามต้องกว้างอย่างน้อย 5 เมตร จากเส้ นข้างและ8 เมตรจากเส้นหลังที่ว่างเหนือสนามสําหรับเล่นลูกต้องสูงจากพื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อย12.50 เมตร
1.2 พื้นผิวสนาม (PLAYING SURFACE)
1.2.1 พื้นผิวสนามต้องเรียบ เป็นพื้นราบและเหมือนกันตลอดทั้งสนาม ต้องไม่เป็นอันตรายจนเป็นเหตุให้ผู้เล่นบาดเจ็บ และไม่อนุญาตให้แข่งขันบนพื้นสนามที่ขรุขระหรือลื่นสําหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันที่เป็ นทางการ อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะพื้นผิวสนามที่เป็ นไม้หรือพื้นผิวสังเคราะห์เท่านั้น พื้นผิวสนามอื่นใดต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติก่อน
1.2.2 สนามแข่งขันในร่ม พื้นผิวสนามต้องเป็นสีสว่างสําหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันที่เป็นทางการ เส้นสนามต้องเป็นสีขาว ส่วนพื้นผิว
สนามแข่งขันและบริเวณเขตรอบสนามต้องเป็นสีอื่น แตกต่างกันออกไป
1.2.3 สนามแข่งขันกลางแจ้ง อนุญาตให้พื้นผิวสนามลาดเอียงได้ 5 มิลลิเมตรต่อ 1 เมตร เพื่อการระบายนํ้า ห้ามใช้ของแข็งทําเส้นสนาม
1.3 เส้นในสนาม (LINES ON THE COURT)
1.3.1 เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร เป็ นสีสว่างแตกต่างจากสีของพื้นผิวสนามและสีของเส้นอื่นๆ
1.3.2 เส้นเขตสนาม (Boundary line)
เส้นข้าง 2 เส้น และเส้นหลัง 2 เส้นเป็นเส้นกำหนดเขตสนามแข่งขัน เส้นทั้งหมดนี้ต้องอยู่ภายในเขตของสนามแข่งขัน
1.3.3 เส้นแบ่งแดน (Center line)กึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนามแข่งขันออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆก ันขนาด9 x 9 เมตร เส้นนี้ลากจากเส้นข้างด้านหนึ่งไปยังเส้นข้างอีกด้านหนึ่งตามแนวใต้ตาข่ายใต้ตาข่าย
1.3.4 เส้นเขตรุก(Attack line)
แต่ละแดนของสนาม จะมีเส้นเขตรุกซึ่งริมสุดด้านนอกของเส้นนี้จะลากห่างจากจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน 3 เมตร เป็นกำหนดของเขตรุกสําหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็ นทางการเส้ นเขตรุกจะถูกลากต่อออกไปจากเส้นข้างทั้ง 2 เส้น เป็ นเส้นประ กว้าง 5 เซนติเมตร ยาวเส้นละ15 เซนติเมตร จํานวน5 เส้น และเว้นช่องว่างระหว่างเส้นไว้ช่องละ 20 เซนติเมตร รวมความยาวข้างละ 1.75 เมตรเส้นเขตกําหนดสําหรับผู้ฝึกสอน (เป็นเส้นประต่อจากเส้นเขตรุกไปจนถึงเส้นหลังของสนามขนานและห่างจากเส้นข้าง 1.75 เมตร) เส้นประนี้ยาวเส้นละ 15 เซนติเมตร ระยะห่างกันแต่ละเส้น 20เซนติเมตร เป็นเขตกําหนดสําหรับให้ผู้ฝึ กสอนปฏิบัติหน้าที่
1.4 เขตและพื้นที่ต่างๆ (ZONES AND AREAS) (ภาพที่ 1b และภาพที่ 2)
1.4.1 เขตรุก(Front zone)
เขตรุกของแต่ละแดน จะถูกกำหนดจากกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดนไปจนถึงริมสุดด้านนอกของเส้นเขตรุก เขตรุก ถือเสมือนว่ามีความยาวต่อจากเส้นข้างทั้งสองข้าง ไปจนถึงริมสุดของเขตรอบสนาม
1.4.2 เขตเสิร์ฟ (Service zone)
เขตเสิร์ฟมีพื้นที่กว้าง 9 เมตร อยู่เลยเส้นหลังแต่ละเส้นออกไปเขตเสิร์ฟกำหนดโดยเส้นขนานสั้น ๆ 2 เส้น ยาวเส้นละ 15 เซนติเมตรเส้นทั้งสองนี้จะตีห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร เสมือนว่าเป็นแนวต่อจากเส้นข้างและรวมอยู่ในความกว้างของเขตเสิร์ฟด้วย ในแนวลึกเขตเสิร์ฟจะยาวออกไปจนถึงปลายสุดของเขตรอบสนาม
1.4.3 เขตเปลี่ยนตัว (Substitution zone)
เขตเปลี่ยนตัวกำหนดโดยแนวต่อของเส้นรุกทั้งสองเส้นไปจนถึงโต๊ะผู้บันทึก
1.4.4 เขตเปลี่ยนตัวรับอิสระ (Libero Replacement Zone)
เขตเปลี่ยนตัวรับอิสระเป็นส่วนหนึ่งของเขตรอบสนามด้านเดียวกับ
ม้านั่งของทีม กําหนดโดยเส้ นที่ต่อจากเส้ นเขตรุกถึงเส้ นหลัง
1.4.5 พื้นที่อบอุ่นร่างกาย (Warm - up area)
สําหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ พื้นที่อบอุ่นร่างกายขนาด 3 x 3 เมตร จะอยู่ที่นอกเขตรอบสนาม ตรงมุมสนามด้านเดียวกับม้านั่งของผู้เล่นสํารอง
1.4.6 พื้นที่ลงโทษ (Penalty area)
พื้นที่ลงโทษขนาดประมาณ 1 x 1 เมตร มีเก้าอี้ตั้งไว้ 2 ตัวอยู่ในพื้นที่ควบคุมการแข่งขัน แต่อยู่เลยแนวของเส้นหลัง และมีเส้นสีแดงกว้าง 5
เซนติเมตรกำหนดพื้นที่
กติกาข้อที่ 2 ตาข่ายและเสาขึงตาข่าย (NET AND POSTS)
2.1 ความสูงของตาข่าย(HEIGHT OF THE NET)
2.1.1 ตาข่ายถูกขึงเป็นแนวดิ่
งเหนือเส้นแบ่งแดนสําหรับทีมชายขอบบนสุดต้องสูงจากพื้น 2.43 เมตร ทีมหญิงสูง 2.24 เมตร
2.1.2 ความสูงของตาข่า วัดที่กึ่งกลางของสนาม ความสูงของตาข่าย(ที่เหนือเส้นข้างทั้งสองด้าน) ต้องสูงเท่ากัน แต่จะต้องไม่สูงเกินกว่าความสูงที่กำหนด2 เซนติเมตร
2.2 โครงสร้าง (Structure)
ตาข่ายมีความกว้าง 1 เมตร และยาว 9.50 ถึง 10.00 เมตร (โดยมีความยาวเหลืออยู่ 25 ถึง 50 เซนติเมตร จากแถบข้างแต่ละด้าน) ทําด้วยวัสดุสีดําเป็นตาสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 10 เซนติเมตร ที่ขอบบนของตาข่าย มีแถบขนานกับพื้นพับ 2 ชั้น สีขาวกว้าง 7 เซนติเมตร
เย็บติดตลอดความยาวของตาข่าย ที่ปลายสุดแต่ละข้าง เจาะรูไว้ข้างละ 1 รู เพื่อร้อยเชือกผูกกับเสาขึงตาข่าย เพื่อดึงให้แถบบนสุดของตาข่ายตึงภายในแถบ มีสายที่ยืดหยุ่นได้สําหรับผูกกับเสา เพื่อทําให้ส่วนบนสุดของตาข่ายตึงที่ชายล่างสุดของตาข่ายมีแถบขนานก ับพื้นกว้าง 5 เซนติเมตร ภายในแถบมีสายที่ยืดหยุ่นได้สําหรับผูกก ับเสาเพื่อทําให้ส่วนล่างของตาข่ายตึง
กติกาข้อที่ 3 ลูกบอล (BALLS)
3.1 มาตรฐานของลูกบอล(STANDARD)
ลูกบอลต้องกลม ทําด้วยหนังฟอกหรือหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้ ห่อหุ้มลูก
ทรงกลมทําด้วยยางหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกันสีของลูกบอลอาจเป็ นสีอ่อนๆเหมือนกันทั้งลูกหรืออาจเป็นหลายสีผสมกันก็ได้ลูกบอลซึ่งทําด้วยวัสดุที่เป็นหนังสังเคราะห์มีหลายสีผสมก ัน ที่ใช้ในการแข่งขัน
ระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการ ต้องมีมาตรฐานตามที่สหพันธ์วอลเลย์บอล
นานาชาติก ําหนด 6 ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงยาว 65 – 67 เซนติเมตร และมีนํ้าหนัก260 – 280กรัม
ลูกบอลต้องมีแรงดันลม 0.30 – 0.325 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
3.2 รูปแบบของลูกบอล (UNIFORMITY OF BALLS)
ลูกบอลที่ใช้ในการแข่งขันต้องมีเส้นรอบวง นํ้าหนัก แรงอัด ชนิด และสี ตาม
มาตรฐานเดียวกันการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และรวมทั้งระดับชาติ หรือการแข่งขันลีก (League) ของแต่ละประเทศต้องใช้ลูกบอลที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติรับรองเท่านั้นเว้นแต่ได้รับการยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)